วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

บทสรุปกรีฑาสีโรงเรียนทุ่งสง ปี 2554









นายกอบจ.นครศรีฯ เป็นประธานเปิดการแข่งขันกรีฑาภายในโรงเรียนทุ่งสง ปี 2554
 ณ สนามโรงเรียนทุ่งสง






         วันที่ 8 กันยายน 2554 เวลา 10.00 น. นาย พิชัย บุณยเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกรีฑาภายในโรงเรียนทุ่งสง ปีการศึกษา 2554 ณ สนามโรงเรียนทุ่งสง พร้อมด้วย นายเกียรติศักดิ์ ยอดระบำ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เขตอำเภอทุ่งสง นายสุชาติ เจริญพงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เขตอำเภอทุ่งสง นายสนั่น ศิลารัตน์ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด
          นาย พิชัย บุณยเกียรติ ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า รู้สึกภูมิใจกับนักเรียนโรงเรียนทุ่งสง ที่มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมอย่างนี้เป็นประจำทุกปี ติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 50 ปี ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นบทเรียนอันล้ำค่าสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในอนาคตและถือได้ว่าโรงเรียนทุ่งสง สนองนโยบายในการจัดการศึกษาของรัฐบาลได้อย่างสมบูรณ์ เพราะได้ฝึกฝนนักเรียนทั้งจากตำรา และปฏิบัติจริง ฝึกทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังคำกล่าวที่ว่า กีฬาเป็นยาวิเศษ เพราะกีฬาทำให้คน มีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณ เทศบาลเมืองทุ่งสง สถานที่ตำรวจภูธรทุ่งสง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42 กองกำกับ 8 กองบังคับฝึกพิเศษ โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนทุ่งสงและท่านผู้ปกครองที่ได้ร่วมจัดงานในครั้งนี้

ภาพกิจกรรมการแข่งขันกรีฑาสี โรงเรียนทุ่งสง วันที่ 8 กันยายน 2554
    
ภาพกิจกรรมการแข่งขันกรีฑาสี โรงเรียนทุ่งสง วันที่ 8 กันยายน 2554










จริยธรรมและพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์


จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์

ความหมายจริยธรรมคอมพิวเตอร์

                เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน  สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
1.  การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2.  การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3.  การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.  การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA  ประกอบด้วย
1.  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2.  ความถูกต้อง (Information Accuracy)       
3.  ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)                 
4.  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
                        ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น ฉบับ คือ
1.  กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2.  กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.  กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4.  กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5.  กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6.  กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
            ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  ส่วนกฏหมายอีก ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2546)